Week 12 -14: ระบบสมการเชิงเส้นหลายตัวแปร

เป้าหมายรายสัปดาห์: เข้าใจและสามารถอธิบายความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์แบบรูปความสัมพันธ์จากแบบรูปของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวได้ และสามารถแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวโดยใช้สมบัติของการเท่ากันได้ตลอดจนเขียนสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวแทนสถานการณ์หรือปัญหาอย่างง่ายและแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวได้ และนำความรู้ไปปรับประยุกต์ใช้แก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ได้
Week
Input
Process
Output
Outcome








12 - 14


10 - 29
ส.ค. 2558


โจทย์
ระบบสมการเชิงเส้นหลายตัวแปร(ทบทวน)
Key  Questions
นักเรียนคิดว่า หรือ 4 เป็นคำตอบของสมการ x - 2 = 6 หรือไม่?
นักเรียนคิดว่าสมการสองสมการที่จะเท่ากัน จะมีความสัมพันธ์อย่างไร?
เครื่องมือคิด
Show and Share
นำเสนอวิธีคิดเกี่ยวกับวิธีคิดการหาคำตอบจากสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
- นำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับสมบัติการเท่ากับของสมการ 2 สมการ
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ภาพเกี่ยวกับโจทย์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
- รูปทรงแบบรูปและความสัมพันธ์
- คอมพิวเตอร์ โปรแกรมGSP
ชง  ครูและนักเรียนร่วมทบทวนกิจกรรมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิตสองมิติ และรูปเรขาคณิตสามมิติ
- นักเรียนร่วมเล่าเกี่ยวกับความรู้เดิมที่เรียนผ่านมา ครูยกตัวอย่างโจทย์เกมกิจกรรมเดิม 
ทบทวนและเตรียมความพร้อมของผู้เรียน
- ครูพานักเรียนเล่นเกม รูปต่อไปนี้ คือ
เชื่อม นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นและนำเสนอวิธีคิด
- เพื่อนๆ และครูผู้สอนช่วยกันร่วมอภิปรายวิธคิดที่แตกต่าง ร่วมตั้งคำถามเพื่อให้เพื่อนที่นำเสนอได้อธิบายสิ่งที่ได้เรียนรู้
- นำเสนอวิธีการที่แตกต่าง แบบรูปและความสัมพันธ์(pattern) ถัดไป ตามความเข้าใจของเพื่อนๆ ที่นำเสนอแตกต่าง
- ครูอธิบายความเข้าใจของความสัมพันธ์ผ่านโปรแกรมGSP
ใช้ นักเรียนทำใบงานแบบรูปและความสัมพันธ์ ตามโจทย์ที่กำหนดให้และสร้างโจทย์ขึ้นมาเอง
ชง ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่า หรือ 4 เป็นคำตอบของสมการ x - 2 = 6 หรือไม่?
 เชื่อม นักเรียนร่วมเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม ทุกคนเขียนตัวอย่างโจทย์
วิธิคิด.
“พิจารณาสมการ x - 2 = 6
แทนค่า x = 8 จะได้ 8 - 2 = 6 ทำให้สมการเป็นจริง
แทนค่า x = 4 จะได้ 4 - 2 ไม่เท่ากับ ทำให้สมการเป็นเท็จ
ดังนั้น 8 เป็นคำตอบของสมการ x - 2 = 6
- นักเรียนลองตั้งโจทย์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวให้เพื่อนๆ ฝึกทำ
ชง ครูพานักเรียนฝึกทำโจทย์สถานการณ์การคิด สมบัติการเท่ากัน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าสมการสองสมการที่จะเท่ากัน จะมีความสัมพันธ์อย่างไร?”
เชื่อม นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับผลลัพธ์ของสมการทั้ง ข้อ จากการนำเสนอความเข้าใจของแต่ละคน
- เพื่อนๆ และครูผู้สอนช่วยกันร่วม
อภิปรายวิธคิดที่แตกต่าง ร่วมตั้งคำถามเพื่อให้เพื่อนที่นำเสนอได้อธิบายสิ่งที่ได้เรียนรู้
ใช้ นักเรียนเขียนโจทย์ที่กำหนดให้เป็นการบ้านflip classroom สมบัติการเท่ากันของสมการและการแก้ปัญหาโจทย์ปัญหาสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
- การ์ตูนถ่ายทอดความเข้าใจสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
- เขียนสรุปชาร์ตการแก้โจทย์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
ภาระงาน
- นักเรียนร่วมทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิตสองมิติ และรูปเรขาคณิตสามมิติ
- นักเรียนนำเสนอความเข้าใจวิธีคิดที่นำเสนอต่อครูและเพื่อนๆ
- สังเกตแบบรูปความสัมพันธ์เพิ่มเติม จากโปรแกรมGSP จากครูอธิบาย
- ทำชิ้นงานการ์ตูน/ใบงานเกี่ยวกับสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

ชิ้นงาน
- ใบงานเกี่ยวกับการแก้ปัญหาสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
- ชาร์ตถ่ายทอดความเข้าใจและการ์ตูนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

ความรู้
การวิเคราะห์แบบรูปความสัมพันธ์จากแบบรูปของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวได้ และสามารถแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวโดยใช้สมบัติของการเท่ากันได้ตลอดจนเขียนสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวแทนสถานการณ์หรือปัญหาอย่างง่ายและแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
ทักษะ
ทักษะการสื่อสาร / การให้เหตุผล
การมีส่วนร่วมในการแสนอความคิดเห็น ในวิธีคิดที่แปลกใหม่ การอภิปรายเกี่ยวกับสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
ทักษะการคิดวิเคราะห์
นักเรียนสามารถคิดเชิงวิเคราะห์ให้เห็นความสัมพันธ์จากแบบรูปที่กำหนดให้ และถ่ายทอดความเข้าใจให้ผู้อื่นเข้าใจ
ทักษะการแก้ปัญหา
นักเรียนได้ฝึกการแก้ปัญหาโจทย์เกี่ยวกับสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ในรูปแบบโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้น และสามารถสร้างโจทย์ให้ผู้อื่นฝึกคิดได้
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ช่วยออกแบบวิธีคิด ร่วมปรึกษาความคิดเห็นของตนเองกับเพื่อนๆ ช่วยเหลือกันและกันในการเรียนรู้ สร้างโจทย์ใหม่ให้ผู้อื่นฝึกทำละเข้าใจได้

คุณลักษณะ
สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ทำงานอย่างมีความประณีต
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ทั้งงานกลุ่มและงานเดียว ทุกคนทำงานอย่างเต็มความสามารถ
- ส่งงานตรงเวลา เมื่อได้การบ้าน ในเช้าวันถัดมานักเรียนฝึกทำการบ้านและส่งงานทุกครั้ง
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ขณะที่มีผู้นำเสนอ คนที่รับฟังเขียนขมวดความเข้าใจลงในสมุดทดคิด

ภาพกิจกรรมการเรียนรู้
_ เปิดเรียนมาใน Quarter 2 นี้ คุณครูเวียนสอนช่วยกัน โดยครูป้อมไปช่วยสอนเพิ่มเติมเตรียม O-net’58 ของพี่ๆ ม.3 โดยไล่เรียงเนื้อหาจากเรื่องๆที่เหลือ จาก Quarter 1 ซึ่งคุณครูดอกไม้ได้สอนทบทวนมาแล้ว 4 หน่วยด้วยกัน ได้แก่ วงกลม, กรวยและทรงกระบอก, ทรงกรม และโจทย์ปัญหาสถานการณ์การหาพื้นที่และปริมาตร ฯลฯ





และยังเป็นการเพิ่มเติมทบทวน O-net ของแต่ละปีที่ผ่านมาๆ อีกด้วย ซึ่งเด็กๆ มีความกระตือรือร้นที่อยากเรียนรู้มากยิ่งขึ้น เพราะอาจเห็นเป้าหมายของแต่ละคนที่อยากไปเรียนต่อที่ต่างๆ
    ในการเรียนรู้ที่ต้องปูพื้นฐานใหม่ๆ ให้กับหลายๆ คนเช่น พี่ฟ้า(ร) อาจมีความขยาดหวาดกลัวกับวิชาคณิตฯ มาตั้งแต่เรียนระดับประถม แต่มีความสามารถทางด้านภาษา ตอนนี้มีความอยากรู้อยากเรียนมากยิ่งขึ้นกว่าตอนที่อยู่ ม.1, พี่เอมมี่ รู้ว่าตัวเองเรียนรู้ช้า ก็หาเวลาวางเข้ามาพูดคุยหาโจทย์ที่แปลกๆ มาชวนครูคิด เพื่อเรียนรู้ไปพร้อมกัน










และหลายๆ คนมาหยิบยืมหนังสือเรียนที่เตรียมพร้อม O-net กลับไปอ่านที่บ้านและนำโจทย์ข้อที่ตัวเองยังติดหรือสงสัยอยู่ เตรียมไว้นำมาพูดคุยซักถามกับครูอยู่เนืองๆ
     และเพื่อเป็นการเพิ่มเติมความรู้ในเรื่องราวของคณิตศาสตร์ที่สูงยิ่งขึ้น ครูสร้างกลุ่มในFace book เพื่อมีพูดคุยคณิตฯกับครูหลังเลิกเรียน และครูหาโจทย์กับคลิปที่น่าสนใจให้เด็กๆ เรียนรู้เพิ่มเติมเองตามความสนใจ

1 ความคิดเห็น:

  1. _ เปิดเรียนมาใน Quarter 2 นี้ คุณครูเวียนสอนช่วยกัน โดยครูป้อมไปช่วยสอนเพิ่มเติมเตรียม O-net’58 ของพี่ๆ ม.3 โดยไล่เรียงเนื้อหาจากเรื่องๆที่เหลือ จาก Quarter 1 ซึ่งคุณครูดอกไม้ได้สอนทบทวนมาแล้ว 4 หน่วยด้วยกัน ได้แก่ วงกลม, กรวยและทรงกระบอก, ทรงกรม และโจทย์ปัญหาสถานการณ์การหาพื้นที่และปริมาตร ฯลฯ

    และยังเป็นการเพิ่มเติมทบทวน O-net ของแต่ละปีที่ผ่านมาๆ อีกด้วย ซึ่งเด็กๆ มีความกระตือรือร้นที่อยากเรียนรู้มากยิ่งขึ้น เพราะอาจเห็นเป้าหมายของแต่ละคนที่อยากไปเรียนต่อที่ต่างๆ
    ในการเรียนรู้ที่ต้องปูพื้นฐานใหม่ๆ ให้กับหลายๆ คนเช่น พี่ฟ้า(ร) อาจมีความขยาดหวาดกลัวกับวิชาคณิตฯ มาตั้งแต่เรียนระดับประถม แต่มีความสามารถทางด้านภาษา ตอนนี้มีความอยากรู้อยากเรียนมากยิ่งขึ้นกว่าตอนที่อยู่ ม.1, พี่เอมมี่ รู้ว่าตัวเองเรียนรู้ช้า ก็หาเวลาวางเข้ามาพูดคุยหาโจทย์ที่แปลกๆ มาชวนครูคิด เพื่อเรียนรู้ไปพร้อมกัน

    และหลายๆ คนมาหยิบยืมหนังสือเรียนที่เตรียมพร้อม O-net กลับไปอ่านที่บ้านและนำโจทย์ข้อที่ตัวเองยังติดหรือสงสัยอยู่ เตรียมไว้นำมาพูดคุยซักถามกับครูอยู่เนืองๆ
    และเพื่อเป็นการเพิ่มเติมความรู้ในเรื่องราวของคณิตศาสตร์ที่สูงยิ่งขึ้น ครูสร้างกลุ่มในFace book เพื่อมีพูดคุยคณิตฯกับครูหลังเลิกเรียน และครูหาโจทย์กับคลิปที่น่าสนใจให้เด็กๆ เรียนรู้เพิ่มเติมเองตามความสนใจ

    ตอบลบ