เป้าหมายรายสัปดาห์: เข้าใจและสามารถอธิบายความเข้าใจเกี่ยวกับรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ อธิบายลักษณะของรูปเรขาคณิตสามมิติกับภาพสองมิติได้ สามารถสื่อสารและนำเสนอภาพสองมิติที่ได้จากการมองทางด้านหน้า ด้านข้าง หรือด้านบน ของรูปเรขาคณิตสามมิติที่กำหนดให้ได้
เชื่อมโยงความรู้โดยการวาดหรือประดิษฐ์รูปเรขาคณิตที่ประกอบขึ้นจากลูกบาศก์ เมื่อกำหนดภาพสองมิติที่ได้จากการมองทางด้านหน้า ด้านข้าง หรือด้านบนได้และสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
12 - 15
4 ส.ค. 2557
ถึง
29 ส.ค. 2557
|
โจทย์
เรขาคณิตขั้นสูง
Key Questions
- นักเรียนเห็นความสัมพันธ์อะไรบ้าง จากภาพเพียงภาพเดียวกัน?
- นักเรียนเห็นความสัมพันธ์ใดที่มองทางด้านหน้า (front view) ด้านข้าง (side view) และด้านบน (top view) ทั้ง 3 ด้าน จากภาพดังกล่าว?
- เรขาคณิตฯ มีความเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันเราอย่างไร? และสิ่งใดที่เราประดิษบ์ได้จากพื้นฐานเรขาคณิตฯที่เราเรียนมา?
เครื่องมือคิด
Show and Share นำเสนอวิธีคิดเกี่ยวกับ
รูปเรขาคณิต
Brainstorm ระดมความคิดหาวิธีคิดที่หลากหลายมาอธิบายภาพ wall Thinking ติดชิ้นงานการคิด การเรียนรู้ทางเรขาคณิตฯ
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ภาพเกี่ยวกับเรขาคณิต 2 มิติ กับเรขาคณิต 3 มิติ
- คอมพิวเตอร์ power point / GSP
|
ชง : ครูและนักเรียนร่วมทบทวนกิจกรรมเกี่ยวกับการคิดทางคณิตฯขั้นสูง
- นักเรียนร่วมเล่าเกี่ยวกับความรู้เดิมที่เรียนผ่านมา
- ครูพานักเรียนดูรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
-ครูใช้คำถาม “นักเรียนเห็นความสัมพันธ์อะไรบ้าง จากภาพเพียงภาพเดียวกัน?”
เชื่อม : นักเรียนอธิบายถ่ายทอดความเข้าใจจากสิ่งที่เห็น
- เพื่อนๆ มีส่วนรับฟังความคิดเห็นและเพิ่มเติมจากสิ่งที่เพื่อนถ่ายทอดยังไม่ครบ
ชง : ครูให้นักเรียนสังเกตรูปต่อไปนี้
-ครูใช้คำถาม “นักเรียนเห็นความสัมพันธ์อะไรบ้าง จากภาพเพียงภาพเดียวกัน?”
- ครูนำโจทย์ที่ใกล้เคียงจาก O-net ในแต่ละปีที่ผ่านมาให้นักเรียนทบทวน และฝึกคิดโจทย์ร่วมกัน(ทุกๆ ชั่วโมงเรียน)
- ครูตั้งคำถามสม่ำเสมอเพื่อให้นักเรียนคนอื่นๆ ได้อธิบายความเข้าใจไปพร้อมด้วย
ชง : ครูให้ดูรูปทรงที่กำหนดให้ต่อไปนี้ แล้วให้ ”นักเรียนเห็นความสัมพันธ์ใดที่มองทางด้านหน้า (front view) ด้านข้าง (side view) และด้านบน (top view) ทั้ง 3 ด้าน จากภาพดังกล่าว?”
- ครูติดภาพรูปทรงเรขาคณิตฯ ให้นักเรียนช่วยเขียนทางด้านหน้า (front view) ด้านข้าง (side view) และด้านบน (top view)
- นักเรียน ม.3 ฝึกคิดโจทย์ทำลงในสมุดทดคิดลงในสมุดทุกๆครั้ง |
ภาระงาน
- นักเรียนออกแบบรูปที่เกิดจากการมอง 3 ด้าน ลงในสมุดทดคิด
- เขียนสรุปเนื้อหาการเรียนรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์รูปเรขาคณิต 2 มิติและเรขาคณิต 3 มิติ
- นักเรียนร่วมเสนอวิธีคิดและร่วมอภิปรายสิ่งที่ได้เรียนรู้
- นักเรียนทำใบงานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิต 2 มิติ และรูปเรขาคณิต3 มิติ
ชิ้นงาน
- ใบงานเกี่ยวกับเราขาคณิต 2 มิติ และเรขาคณิต 3 มิติ
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเราขาคณิต 2 มิติ ลงในสมุดคณิตฯ
|
ความรู้
รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ อธิบายลักษณะของรูปเรขาคณิตสามมิติกับภาพสองมิติได้ สามารถสื่อสารและนำเสนอภาพสองมิติที่ได้จากการมองทางด้านหน้า ด้านข้าง หรือด้านบน ของรูปเรขาคณิตสามมิติที่กำหนดให้ได้
เชื่อมโยงความรู้โดยการวาดหรือประดิษฐ์รูปเรขาคณิตที่ประกอบขึ้นจากลูกบาศก์ เมื่อกำหนดภาพสองมิติที่ได้จากการมองทางด้านหน้า ด้านข้าง หรือด้านบนได้
ทักษะ
ทักษะการสื่อสาร / การให้เหตุผล
การมีส่วนร่วมในการแสนอคความคิดเห็น ในวิธีคิดที่แปลกใหม่ การอภิปรายเกี่ยวกับเรขาคณิต
ทักษะมองเห็นภาพ
รูปทรงที่เกิดขึ้นในด้านต่างๆ ที่มุมมองแตกต่างกัน คิดเชิงวิเคราะห์ให้เห็นความสัมพันธ์
ทักษะการแก้ปัญหา
นักเรียนได้ฝึกการแก้ปัญหาโจทย์รูปเรขาคณิต2 มิติ และ 3 มิติ
ทักษะการมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นักเรียนออกแบบวิธีคิดที่หลายหลาย สร้างรูปร่างทางเรขาคณิตฯ ด้วยรูปร่างที่สร้างสรรคืจากจินตนาการ ทักษะICT นักเรียนใช้โปรแกรมGSP มาให้
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ช่วยออกแบบวิธีคิด ร่วมปรึกษาความคิดเห็นของตนเองกับเพื่อนๆ ช่วยเหลือกันและกันในการเรียนรู้
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ให้เป็นประโยชน์
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
ภาพกิจกรรมการเรียนรู้

ครูจะมีโจทย์ที่เกี่ยวกับงานออกแบบวิศวะ(พื้นฐาน) เพื่อให้เห็นมิติที่หลาหลายมากกว่า 3 มิติ
การที่เด็กได้ร่วมกันวิเคราะห์หาค่าต่างๆ และร่วมกันออกแบบงานเรขาคณิตที่มอบให้ด้วยตัวเขาเอง จะทำให้เกิดความรู้สึกเชิงปริภูมิ ที่พวกเขาได้มาจากทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น การสร้างภาวะผู้นำในการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นแต่ละชั่วโมง
ครูจะค่อยอำนวยให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องๆ ให้ทุกคนได้สร้างงานจากการลงมือทำและปฏิบัติจริง
GSP เป็นส่วนหนึ่ทำให้เด็กๆ ม.3 ได้เห็นภาพเกิดความรู้สึกเชิงปริภูมิมากขึ้น ทราบถึงขนาด คาดคะเนถึงน้ำหนักที่จะนำมาใส่ได้จริง
ก่อนที่ครูจะแทรกการบ้านเกี่ยวกับเรขาคณิตฯ ให้เด็กๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้ับผู้เรียนอย่างเข้มข้น และให้เด็กๆ เกิดความกระหายที่จะอยากเรียนรู้ๆ คณิตศาสตร์เรขาขั้นสูง.
_เนื้อหาเรขาคณิตขั้นสูงเป็นการปูพื้นฐานทางเรขาคณิตฯ ฝึกการคิดคำนวณหาค่าที่แยบยลมากขึ้น เพื่อให้เด็กๆ ตระหนักถึงความละเอียดในการสรรค์สร้างงานออกมา
ตอบลบครูจะมีโจทย์ที่เกี่ยวกับงานออกแบบวิศวะ(พื้นฐาน) เพื่อให้เห็นมิติที่หลาหลายมากกว่า 3 มิติ
การที่เด็กได้ร่วมกันวิเคราะห์หาค่าต่างๆ และร่วมกันออกแบบงานเรขาคณิตที่มอบให้ด้วยตัวเขาเอง จะทำให้เกิดความรู้สึกเชิงปริภูมิ ที่พวกเขาได้มาจากทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น การสร้างภาวะผู้นำในการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นแต่ละชั่วโมง
ครูจะค่อยอำนวยให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องๆ ให้ทุกคนได้สร้างงานจากการลงมือทำและปฏิบัติจริง
GSP เป็นส่วนหนึ่ทำให้เด็กๆ ม.3 ได้เห็นภาพเกิดความรู้สึกเชิงปริภูมิมากขึ้น ทราบถึงขนาด คาดคะเนถึงน้ำหนักที่จะนำมาใส่ได้จริง
ก่อนที่ครูจะแทรกการบ้านเกี่ยวกับเรขาคณิตฯ ให้เด็กๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้ับผู้เรียนอย่างเข้มข้น และให้เด็กๆ เกิดความกระหายที่จะอยากเรียนรู้ๆ คณิตศาสตร์เรขาขั้นสูง.